การวิเคราะห์ลายผิววิทยาคืออะไร

ศาสตร์ลายผิววิทยา (Dermatoglyphics) เป็นการวิเคราะห์เส้นลายผิวที่เกิดอยู่ตามนิ้วมือ ฝ่ามือ นิ้วเท้า และฝ่าเท้า โดยหากเกิดบนนิ้วมือเรียกว่า “ลายนิ้วมือ” และหากเกิดบนฝ่ามือเรียกว่า “ลายฝ่ามือ” หรือ “ลายมือ” ซึ่งในการให้คำปรึกษาจากการวิเคราะห์ลายผิววิทยา จะอาศัยงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ที่ศึกษาความเชื่อมโยงกันระหว่างพันธุกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์สมองใหญ่ ซึ่งค้นพบว่ารายละเอียดต่างๆ ของเส้นลายผิวของบุคคลจะได้รับการพัฒนาในช่วง 13 สัปดาห์ ภายในครรภ์และลายเส้นนิ้วมือจะสมบูรณ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิตภายใน 24 สัปดาห์

การวิเคราะห์เส้นลายผิววิทยาจะช่วยผู้เข้ารับการทดสอบอะไรได้บ้าง?

ศาสตร์ลายผิววิทยา (Dermatoglyphics) เป็นศาสตร์การวิเคราะห์ลายผิววิทยาสามารถช่วยให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ประการแรกคือ ศักยภาพแฝงก่อนกำเนิดของบุคคลที่แตกต่างกัน จากความได้เปรียบของการทำงานของสมอง ประการที่สองคือ รูปแบบที่บุคคลใช้ในการเรียนรู้และการจัดการความสามารถในด้านต่างๆได้อย่างไร ประการที่สามคือ ช่องทางที่ใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วที่สุดว่ามาจากช่องทางใด การมอง การฟัง การสัมผัสต่างๆ ประการที่สี่คือ รูปแบบความถนัดที่ใช้ในการสื่อสาร และประการสุดท้ายคือ การค้นพบศักยภาพต้นกำเนิดของบุคคลตามทฤษฎีพหุปัญญา 8 ด้าน ว่าบุคคลนั้นๆ จะมีศักยภาพความสามารถเฉพาะในด้านใดเป็นหลัก  เนื่องจากผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่ขาดความรู้และความเข้าใจในศักยภาพความสามารถของบุตรหลานที่ติดตัวตามธรรมชาติมาแต่กำเนิด ดังนั้นการวิเคราะห์เส้นลายผิววิทยาจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในศักยภาพความสามารถของบุตรหลานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เข้าใจในจุดแข็งที่โดดเด่น และจุดอ่อนที่ควรได้รับการพัฒนา ทำให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความสามารถของบุตรหลานในด้านต่างๆ ได้อย่างตรงเป้าหมายและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนเกี่ยวกับหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความสามารถและรูปแบบการเรียนรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับบุตรหลาน ที่สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะ ช่องทางการสื่อสาร รูปแบบการเรียนรู้ และศักยภาพแฝงก่อนกำเนิดของบุตรหลาน เพื่อผลลัพธ์ทางการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของบุตรหลาน

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้ารับการสแกนด้วยระบบ DGPA มีอะไรบ้าง?

ด้วยระบบ DGPA การวิเคราะห์ลายผิววิทยาจะทำให้ผู้ปกครองค้นพบ
– สาเหตุที่ทำให้บุตรหลานขาดความใส่ใจในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง
– อุปสรรคของการเรียนรู้อันเนื่องมาจากรูปแบบการกระตุ้นและการสอนที่ไม่สอดคล้องกับบุตรหลาน
– สาเหตุที่บุตรหลานเกิดการต่อต้านผู้ปกครองในด้านต่างๆ
– สาเหตุที่บุตรหลานบางคนกระตือรือร้น แต่ในขณะที่บางคนกลับดื้อแพ่ง หรือทำไมบางคนให้ความสนใจและจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมุ่งมั่น

ความถูกต้องของการวิเคราะห์ลายผิววิทยาตามหลักพหุปัญญาเป็นอย่างไร?

การวิเคราะห์ลายผิววิทยาเป็นศาสตร์ที่รวมศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์หลากหลายสาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมอง พันธุกรรมศาสตร์ และวิทยาเอ็มบริโอ ดังนั้นรูปแบบลายนิ้วมือจึง ไม่ใช่การเดาสุ่ม แต่เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาศักยภาพแฝงก่อนกำเนิดรายบุคคล  การวิเคราะห์ลายผิววิทยาจากพื้นฐานพหุปัญญา 8 ด้าน นอกจากจะได้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างรัดกุมแล้ว ยังอาศัยกระบวนการเก็บรวมรวมข้อมูลในลักษณะสถิติศาสตร์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผลการวิเคราะห์ลายผิววิทยาจะมีความถูกต้องมากกว่า 90%  ตามทฤษฎีพหุปัญญาของ Dr.Howard Gardner ได้ค้นพบว่าพหุปัญญามีอยู่ในระบบสมอง และบ่งชี้ได้ว่าโครงสร้างของสมองว่ามีความสัมพันธ์กับศักยภาพของบุคคลตามหลักพหุปัญญา ดังนั้นความเข้าใจในบุตรหลานอย่างรวดเร็วในลายผิววิทยาที่เชื่อมโยงกับศักยภาพความสามารถ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและช่วยให้การพัฒนาพหุปัญญาของบุตรหลานมีความเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

การวิเคราะห์ลายผิววิทยาจะช่วยให้ประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์อย่างไร?

เด็กๆ ทุกคนจะมีศักยภาพความสามารถและความเป็นอัจฉริยะภาพเฉพาะด้านที่แตกต่างกันไป หากได้รับการทดสอบ DGPA เพื่อวิเคราะห์ลายผิวิวทยาจะทำให้ค้นพบศักยภาพความสามารถที่ติดตัวมาแต่กำเนิด สามารถเข้าใจบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในของบุตรหลาน และสามารถเข้าใจความถนัดของเด็กๆ แต่ละบุคคลที่จะทำให้สามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลการการวิเคราะห์ลายผิววิทยามีข้อบ่งชี้ทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์สนับสนุนหรือไม่?

การวิเคราะห์ศาสตร์ลายผิววิทยาตั้งอยู่บนพื้นฐานการรองรับของงานวิจัยอย่างหลากหลายของนักวิทยาศาสตร์และนักการแพทย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลากหลายสาขา อาทิ ศาสตร์ลายผิววิทยา วิทยาศาสตร์สมอง และพื้นฐานวิทยาศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสังเกต การบันทึก การศึกษาคู่ตรงข้าม การเปรียบเทียบทั้งแบบอุปมัยและนิรนัย และการศึกษาเชิงประสบการณ์จากการทดลองในระดับคลินิก ซึ่งข้อบ่งชี้ต่างๆ จากการศึกษาและวิจัยด้านลายผิววิทยาที่เกิดขึ้น สามารถเชื่อมโยงไปสู่ความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ด้านพหุปัญญาต่างๆ ของบุตรหลานและศักยภาพต้นกำเนิดของบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์ลายผิววิทยาเหมือน “การดูลายมือ (ดูดวง)” ใช่หรือไม่?

คำตอบคือ “ไม่ใช่” เนื่องจากการทดสอบร่องรอยของลายผิวอยู่บนพื้นฐานของการรองรับของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและการวิจัยทางการแพทย์ นอกจากนั้นการวิเคราะห์ลายผิววิทยายังเชื่อมโยงกับการเติบโตของมือของบุคคลที่ตำแหน่งและร่องรอยลายผิวต่างๆ จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงชีวิตของบุคคล ในชณะที่ การดูลายมือมีแนวโน้มจะค้นหาความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนลายนิ้วมือในแต่ละช่วงเวลา

การวิเคราะห์เส้นลายผิวคือการทดสอบ IQ ใช่หรือไม่?

คำตอบคือ “ไม่ใช่” การวิเคราะห์ลายผิววิทยาไม่ใช่การทดสอบไอคิว โดยแนวคิดการทดสอบ DGPA เป็นการวิเคราะห์ลายผิววิทยาที่อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์พหุปัญญา 8 ด้าน ที่ประกอบด้วย ศักยภาพด้านการรับรู้และเข้าใจตนเอง (Intrapersonal) ศักยภาพด้านดนตรีและสุนทรียศาสตร์ (Musical/Rhythmic) ศักยภาพด้านสังคมและปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal) ศักยภาพด้านการฟังและการเข้าใจภาษา (Verbal Linguistic) ศักยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily/Kinesthetic) ศักยภาพด้านตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematic) ศักยภาพด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist) และศักยภาพด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial) ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดศักยภาพของบุคคลจะมีอยู่ 8 ด้าน ในขณะที่การทดสอบไอคิวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแบบทดสอบศักยภาพทางด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์เท่านั้น